“ในชุมชนสะพานสูงจะมีทั้งคนนับถือศาสนาพุทธและอิสลาม แต่ก็ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเพราะทุกคนมีน้ำใจที่ดีต่อกันถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการประกอบอาชีพการเกษตรให้กับผู้ที่สนใจ ตลอดจนเด็ก ๆ นักเรียนที่เข้ามาศึกษาดูงานอยู่เป็นประจำ มีการรวมกลุ่มในการผลิต และระดมทุนเพื่อใช้เป็นทุนในการผลิต และให้สมาชิกในกลุ่มกู้ยืมไปใช้ในการประกอบอาชีพโดยไม่คิดดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการเอื้อเฟื้อและดูแลซึ่งกันและกัน อันแสดงถึงความสามัคคีในชุมชนอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย” นายเฉลิมเกียรติ กล่าว. “…การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก…” พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙. จากเรื่องราวของ นางกุหลาบทิพย์ แก่นลา เกษตรกรที่ได้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการจัดสรรพื้นที่ ที่อยู่อาศัย แปลงเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชที่ใช้ต้นทุนต่ำ รวมถึงแปลงไม้ยืนต้น ทำให้มีรายได้ทุกวัน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยง และเพิ่มภูมิคุ้มกันความเสี่ยงของการดำเนินชีวิตที่เกินตัว ทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน และอยู่ได้ อยู่ดี มีความสุข ในเขตปฏิรูปที่ดิน. ที่ไปนั่งชุมนุมอยู่กับคนเสื้อแดง.. ‘บ้านเขวาชี’ ถือเป็นหนึ่งในชุมชนไทยที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนวิถีเศรษฐกิจพอเพียง อันเกิดจากความร่วมมือของคนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง […]